ปัญหาปั๊มลมนั้นมีหลายสาเหตุมาก ลองเชคดูเบื้องต้นว่าปั๊มลมของเรามีปัญหาแบบเดียวกันนี้หรือไม่ และมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
- ตรวจเช็คน้ำมันปั๊มลมขาดหรือไม่ หากพบว่าน้ำมันปั๊มลมเหลือน้อย แก้ไขโดยการเติมน้ำมันปั๊มลมเพิ่มหรือเปลี่ยนใหม่น้ำมันปั๊มลมใหม่ น้ำมันปั๊มลมควรเปลี่ยนเปลี่ยนน้ำมันปั๊มลมตามระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ประมาณ 500 ชั่วโมงหรือ 3 เดือนครั้ง ในชนิดปั๊มลมแบบลูกสูบ
- ตรวจเช็คเบอร์ของน้ำมันเครื่องปั๊มลมถูกหรือไม่ บางครั้งอาจเกิดผิดพลาด ตรวจสอบให้แน่ใจ แก้ไขโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันปั๊มลมใหม่ให้ถูกต้อง
- ทิศทางการหมุนของพัดลมระบายความร้อน ทิศทางในการดูดหรือเป่าเพื่อระบายความร้อนของปั๊มลมส่งผลโดยตรงต่อการระบายความร้อนของปั๊มลม ตรวจเชคให้แน่ใจและทำการแก้ไขเมื่อพบว่าทิศทางในการระบายดวามร้อนผิดด้าน
- ตรวจสอบความตีงของสายพานปั๊มลม หากพบว่าหย่อนหรือตึงไปของสายพาน แก้ไขโดยปรับตั้งสายพานของปั๊มลมให้เหมาะสม
- ตรวจดูอไลน์เม้นของสายพานปั๊มลม หากพบว่าไม่ตรงหรือเอียง แก้ไขโดยปรับตั้งอไลน์เม้นสายพานใหม่
- ตรวจดูลูกปืนของมอเตอร์และหัวปั๊มลมว่ามีอาการหลวมหรือไม่ พบว่าลูกปืนแตกแก้ไขโดยการเปลี่ยนลูกปืนใหม่
- ตรวจตรวจเช็ครอยรั่วต่างๆของปั๊มลม หากพบจุดรั่วซึมของปั๊มลม ให้ทำการแก้ไขจุดรั่วนั้นๆ
- ตรวจสอบชุดวาล์วไอดี-ไอเสีย แต่ละชุดลูกสูบว่าทำงานหรือไม่โดยใช้มืออุดช่องทางลมดูดปั๊มลมว่าดูดหรือไม่ หากพบว่าชุดวาล์วเสียให้ทำการเปลี่ยนวาล์วใหม่
- ตรวจเช็คเพรสเชอร์เกจว่าเสียหรือไม่ หากพบว่าเกจเสียให้ทำการเปลี่ยนเกจปั๊มลมใหม่
- ตรวจเช็คว่ามีการใช้ลมมากกว่าเดิมหรือไม่ ปั๊มลมที่ใช้อยู่อาจจะมีลมไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ให้เพิ่มปั๊มลมใหม่
- ตรวจสอบปั๊มลม โดยส่วนใหญ่จะเกิดช่องว่างระหว่างข้อเหวี่ยง กับ ชาร์ป ชำรุด หรือลูกปืนปั๊มลมชำรุด ให้ทำการถอดรื้อเพื่อตรวจสอบว่าชิ้นส่วนใดของปั๊มลมชำรุด
- ตรวจสอบจุดรั่วซึม หากพบจุดรั่วซึมให้ทำการแก้ไข
- ตรวจสอบจุดรั่วซึม ถ้าไม่พบจุดรั่วซึมให้ดูเกจปั๊มลมประกอบว่ามีแรงดันปกติหรือไม่ เชควาล์วอาจค้างหรือเสียให้ทำการถอดล้างหรือเปลี่ยนใหม่
- ตรวจสอบจุดรั่วซึม ถ้าไม่พบจุดรั่วซึมเพรสเชอร์สวิทซ์อาจจะเสียแล้วให้ทำการเปลี่ยนใหม่
- ตรวจสอบความย่อนความตึงของสายพานปั๊มลม ปรับตั้งสายพานให้เหมาะสม
- ตรวจหารอยแตกของสายพาน หากพบรอยแตกของสายพานปั๊มลม ให้ทำการเปลี่ยนสายพานปั๊มลมใหม่
- ตรวจเช็คแรงดันลมว่าสูงเกินไปหรือไม่ ถ้าแรงดันลมสูงเกินไป ให้ลดแรงดันปั๊มลมลดลง
- ตรวจสอบรอยแตกของประเก็นตามจุดต่างๆ หากพบจุดรั่วซึมให้ทำการแก้ไขจุดรั่วซึม
- ตรวจดูตัวหายใจว่ามีน้ำมันเเครื่องกระเด็นออกมาด้วยหรือไม่ ถ้าระดับน้ำมันปั๊มลมอยู่ในระดับปกติให้ทำการเปลี่ยนตัวหายใจปั๊มลมใหม่
- ตรวจดูออยซีลว่าเสียหายหรือไม่ หากพบจุดรั่วซึมให้ทำการเปลี่ยนซีลใหม่
- เช็ควงจรไฟฟ้าว่ามีจุดต่อสายหลุดหรือไม่ หากพบว่ามีจุดหลวมให้ทำการแก้ไขจุดต่อสายไฟให้แน่นขึ้น
- ตรวจเช็ดโอเวอร์โหลด และ การตั้งค่าการตัดที่เหมาะสมหรือไม่ โดยการตั้งค่าโอเวอร์โหลดให้สูงกว่าการกินกระแสไฟของเมอเตอร์
- ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าว่าตกหรือไม่ หากพบว่าไฟตกให้แจ้งการไฟฟ้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจเช็คแรงดันลมว่าสูงเกินไปหรือไม่ ถ้าแรงดันลมสูงเกินไปให้ลดแรงดันปั๊มลมลมลง
- ใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้าว่าผิดปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้แจ้งการไฟฟ้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เช็คสายพานว่ามีอะไรติดขัดหรือไม่ พบสิ่งของติดขัดให้นำออกไป
- เช็ควาล์วลงถังมีลมรั่วย้อนกลับหรือไม่ ถ้าพบมีอาการรั่วให้แก้ไข หรือ เปลี่ยนใหม่
- ใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้าว่าผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบว่าแรงดันไฟฟ้าผิดปกติให้แจ้งการไฟฟ้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เบรคเกอร์ตัดต่ออาจจะมีปัญหา ให้ทำการเปลี่ยนเบรคเกอร์ใหม่
- ตรวจเช็คมอเตอร์ว่าเสียหรือไหม้ หรือไม่ ถ้าเสียให้ทำการซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่
- เช็ควงจรไฟฟ้าว่ามีจุดต่อสายหลุดหรือไม่ หากพบสายไฟฟ้าหลุดให้ทำการแก้ไข
- โอเวอร์โหลด trip หรือไม่ ให้ทำการ Reset
- แมกเนติคคอนเทคเตอร์ควบคุมมอเตอร์เสีย ให้ทำการเปลี่ยนแมกเนติคคอนเทคเตอร์
โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักๆ มาจากการใช้ปั๊มลมอัดลมจนเกินกำลังทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถรับภาระจากการสร้างแรงดันลมที่มากเกินไป หรือไม่ค่อยบำรุงรักษาตามระยะที่ต้องบำรุงรักษาปั๊มลม